ฟันเก ปัญหาทันตกรรม ที่ต้องแก้ไข
ฟันเก ปัญหาทันตกรรม ที่ต้องแก้ไข
[cmsms_row][cmsms_column data_width=”1/1″][cmsms_text]
ฟันเก ฟันไม่สวย ฟันไม่เป็นระเบียบ ดูแล้ว ทำให้บุคลิกของเราแย่ อาการฟันปรากฏให้เห็นได้จากรูปลักษณะ เช่น การเรียงตำแหน่งที่ผิดปกติของฟันหรือความผิดปกติของลักษณะใบหน้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจ นอกจากนี้ อาจมีอาการเคี้ยวหรือกัดไม่ถนัด หรือพูดไม่ค่อยชัดร่วมด้วย
ความเสียหายจากฟันเกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ
-หน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารเสียไป ฟันที่งอกขึ้นมาเก มักจะเอียง บิดออกไปจากแนว ไม่ตั้งตรง ไม่สามารถขบกัดกับฟันตรงข้ามได้สนิท มีผลทำให้เคี้ยวอาหารไม่ได้ หรือเคี้ยวได้บ้างแต่เคี้ยวไม่แหลก คนที่มีฟันเกหลายๆ ตำแหน่งก็จะทำให้การเคี้ยวอาหารผิดปรกติไปได้มาก เกิดเป็น ผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร ร่างกายจะอ่อนแอก็เพราะฟันเกนี่แหละ
-เกิดการผุกร่อนได้ง่าย ฟันที่เกบิด จะก่อให้เกิดเป็นมุมอับขึ้น โดยเกิดขึ้นกับตัวฟันนั้นเอง และกับฟันข้างเคียงด้วย มุมอับที่ว่านี้จะเป็นแหล่งหมักหมมเศษอาหาร เศษอาหารเข้าไปติดซอกได้ง่าย แต่แปรงออกได้ลำบาก หรือแปรงออกได้ไม่หมด ในเวลาไม่ช้าไม่นานเศษอาหารที่เหลือติดอยู่นั้น จะเป็นเหตุทำให้ฟันผุกร่อน
-เกี่ยวกับความสวยงาม ฟันเกเป็นสิ่งที่ผิดปรกติ และมักจะพบได้ บ่อยในฟันหน้า จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสวยงามของใบหน้า ไปด้วย ฟันที่เกมากๆ อาจทำให้เกิดเป็นปมด้อยต้องหาทางแก้ไขด้วยการ ดัดฟัน หรือทำครอบฟัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเสียเงินเสียทอง ฟันเก จึงเป็นสิ่งที่ไม่ดี แม้ว่าบางครั้งฟันเกจะช่วยเสริมให้ใบหน้าเก๋ขึ้นก็ตาม
หากต้องวินิจฉัยเพิ่มเติม แพทย์อาจถ่ายภาพลักษณะใบหน้าของผู้ป่วยเพื่อนำไปตรวจสอบความสัมพันธ์ของฟัน ขากรรไกร และศีรษะ ผู้ป่วยอาจต้องพิมพ์ปาก โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยกัดลงบนวัสดุที่จะถูกนำมาสร้างเป็นสำเนาฟันที่ถูกต้อง นอกจากนี้แพทย์อาจเอกซเรย์เพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเหมาะกับการรักษาแบบไหน ภาพเอกซเรย์ของใบหน้าและฟันของผู้ป่วยจะแสดงข้อมูลตำแหน่งของฟันและรากฟันหรือฟันอื่น ๆ ที่กำลังขึ้นมาจากเหงือก และการเอกซเรย์ฟันทั้งปาก (Panoramic) และการเอกซเรย์กระโหลกศีรษะแบบพิเศษ (Cephalometrics) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของฟันต่อขากรรไกรและขากรรไกรต่อศีรษะ นับเป็นการเอกซเรย์แบบพิเศษที่จะถูกนำประกอบการวินิจฉัยด้วย
การรักษาฟันเก
การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของฟันเก ในกรณีที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจใช้เพียงรีเทนเนอร์แบบถอดได้เพื่อให้ฟันเรียงกันตามแนวปกติ สำหรับผู้ป่วยซึ่งประสบปัญหาฟันเบียดกันเกินไป อาจต้องถอนฟันออกหนึ่งซี่หรือมากกว่านั้น การผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีรุนแรงซึ่งพบไม่บ่อยนัก เช่น ขากรรไกรบนหรือล่างของผู้ป่วยยื่นออกมามากเกินไป
อีกวิธีหนึ่งที่มักนำมาใช้ในการรักษาฟันเกคือ การจัดฟัน การจัดฟันแต่ละประเภทนั้นเหมาะกับแต่ละปัญหาแตกต่างกันไป ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนถึงความจำเป็นเฉพาะบุคคลและลักษณะของฟัน เพื่อการจัดฟันที่ดีที่สุด โดยประเภทของการจัดฟันมีดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนของฟันเก
การที่ฟันไม่เรียงตามแนวปกติทำให้รักษาความสะอาดในช่องปากได้ยากและไม่ทั่วถึง หากไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ฟันผุ ฟันร่วง และโรคเหงือกอักเสบได้ และหากฟันอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นไปได้ว่าการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรผิดปกติและการสบฟันผิดปกติ ส่งผลให้มีปัญหาต่อการเคี้ยว พูด เกิดการกร่อนของเคลือบฟันหรือปัญหาต่อขากรรไกรตามมา
การป้องกันฟันเก
ผู้ป่วยบางรายฟันเกเพราะเป็นลักษณะทางพันธุกรรมจึงทำให้การป้องกันเป็นเรื่องยาก แต่การลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อขากรรไกรสามารถป้องกันได้ เช่น หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจมีแนวโน้มทำให้ขากรรไกรได้รับบาดเจ็บ หรือสำหรับเด็กเล็ก ผู้ปกครองควรจำกัดการใช้ขวดนมหรือจุกนมปลอม
[/cmsms_text][/cmsms_column][/cmsms_row]