preloader

Blog

ทันตกรรมน่ารู้ รักษา “ รากฟัน ” ด้วยตัวคุณเอง

ทันตกรรมน่ารู้  รักษา “ รากฟัน ” ด้วยตัวคุณเอง

ทันตกรรมน่ารู้ รักษา “ รากฟัน ” ด้วยตัวคุณเอง

ทันตกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้จักถึงการดูแล และปัญหา ต่างๆ ที่จะตามมา หากเกิดโรคทางทันตกรรม วันนี้ เราจะนำเสนอในเรื่องของ การรักษา รากฟัน นั้นช่วยให้การเคี้ยวกลับมามีประสิทธิภาพที่ดีเหมือนเคย สามารถกัดอาหารได้อย่างปกติ ลักษณะรูปร่างของฟันกลับมาสวยงาม และยังป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นถูกทำร้ายไปด้วย แต่หากไม่ได้รับการรักษารากฟัน ก็อาจทำให้ฟันซี่นั้นเสียหายจนต้องถอนฟันทิ้ง ซึ่งการถอนฟันที่ไม่มีการใส่ฟันปลอมทดแทนจะทำให้ฟันเคลื่อนย้าย ฟันมีปัญหา การกัดหรือเคี้ยวอาหารทำได้ลำบาก และยังยากต่อการทำความสะอาดช่องปาก เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเหงือกได้ในที่สุด

รากฟัน

อาการที่บ่งบอกอาการเสียวฟัน
– เกิดอาการจี๊ดขึ้นสมอง หรือรู้สึกเสียวฟันมากเมื่อทานของร้อนและเย็น
– ปวดฟันขณะกัดฟันหรือเคี้ยวอาหาร
– มีฟันผุจำนวนมาก
– ฟันมีการเปลี่ยนสีไปจากเดิม

ฟันผุยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกในฟันที่ได้รับการรักษาแล้ว เพราะฉะนั้นช่องปากและฟันควรได้รับการดูแลที่ดีอย่างสม่ำเสมอ การพบทันตแพทย์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต

ข้อดีของการรักษารากฟัน

สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้โดยไม่ต้องถอนฟัน ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ฟันเทียมทดแทนตำแหน่งฟันที่หายไป
หลังการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษารากแล้ว พบว่าประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติเดิมมากกว่าการใส่ฟันเทียมทดแทน
ไม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อการใช้งานหลังการบูรณะฟันมากเท่ากับการใส่ฟันเทียมทดแทน

ข้อจำกัดของการรักษาคลองรากฟัน
ไม่สามารถทำได้ในฟันทุกซี่ เหมือนกับการถอนฟันซึ่งฟันที่จะสามารถรักษารากฟันได้และให้ผลดีหลังการรักษานั้น ทันตแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกันเช่นตำแหน่งการเข้าทำงาน,ลักษณะของรากฟัน,ความเป็นไปได้ของการบูรณะฟันถาวร หลังการรักษาราก ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในเรื่องวิธีการรักษาที่เหมาะสมและเพื่อวางแผนการรักษาก่อนรับการรักษารากฟัน

ควรสร้างพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อฟัน ได้แก่ การหมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เลิกสูบบุหรี่ และควรไปตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ เพื่อป้องกันจากฟันผุและโรคเหงือก ลดความเสี่ยงที่จะต้องกลับไปรักษารากฟันอีกครั้ง หากดูแลรักษาอย่างดีตามวิธีข้างต้นแล้ว ฟันที่รักษารากฟันไว้นี้ก็อาจสามารถอยู่ได้นานตลอดชีวิตเลยทีเดียว